Tanzanite มนตราพลอยน้ำงินอมม่วง

เนื่องจากสภาพภูมิศาสตร์ของประเทศแทนซาเนียในปัจจุบัน เป็นเขตแดนที่อุดมไปด้วยอัญมณีอันมีค่า แหล่งอัญมณีที่น่าสนใจที่สุดคือเขตเหมืองในเมือง Merelani (ประมาณ 60 กม.ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของเทือกเขา Mount Kilimanjaro) ซึ่งเป็นแหล่งที่มีการค้นพบอัญมณีที่มีความสวยงามแห่งศัตวรรษนี้ – นั่นก็คืออัญมณีแทนซาไนซ์สีน้ำเงินอมม่วง

ในเดือนตุลาคม 2009 นักวิจัยและเจ้าหน้าที่ของสถาบัน the Gemological Center of Moscow State University and Gemstones Certification Authority ได้เข้าร่วมการประชุมครั้งที่ 31st International Gemological Conference (IGC) ที่เมือง Arusha, Tanzania โปรแกรมการประชุมจัดให้มีภาคสนามการเดินทางไปดูแหล่งที่ขุดพบอัญมณีในแทนซาเนีย สำหรับแหล่งเหมืองแร่ที่ Merelani ได้สร้างความประทับใจอย่างล้นเหลือแก่คณะผู้เข้าร่วมสัมนา

Image

DISCOVERY OF TANZANITE

แร่แทนซาไนซ์ได้มีการขุดพบในฤดูร้อนของปี 1967 โดยนักเสี่ยงโชคชาวโปรตุเกสชื่อ Manuel D’Souza เขาตั้งใจที่จะเสาะหาแหล่งทับทิม ในทีมขุดค้นก็มีคณะนายพรานของชนท้องถิ่น Masai ร่วมคณะไปด้วยซึ่งจะทำหน้าที่เป็นผู้นำทางและผู้ช่วยไปในคราวเดียวกัน

หลังจากใช้เวลามาหลายสัปดาห์ คณะผู้ขุดค้นก็มุงดูความสำเร็จจากหลุมขุดใต้เทือกเขา Mount Kilimanjaro ในเมือง Arusha บนที่ราบสูง Plateau Merelani มีอัญมณีก้อนใหญ่ที่มีความโปร่งใสและพบในบริเวณรอยแตก ซึ่งเกิดจากการผผันแปรทางธรรมชาติภายใต้ความดันที่สูงและภายใต้อุณหภูมิที่สูง เบื้องต้นเข้าใจว่าแร่ดังกล่าวจะเป็นอัญมณีประเภทแซปไฟร์ แต่ปรากฎว่าสเกลความแข็งของแร่ดังกล่าวน้อยกว่าที่ควรเป็นมาก

Image

ต่อมาการค้นพบแร่อัญมณีใหม่ดังกล่าวได้รับการทำความเข้าใจให้ถูกต้องว่าเป็นอัญมณีที่เป็นประเภทหนึ่งในหลายๆประเภทของแร่ zoisite เป็นที่เข้าใจได้ว่าสีน้ำเงินอันสวยงามในแร่แทซาไนซ์นั้นเกิดจากส่วนผสมของาตุ chrome และธาตุ vanadium สำหรับแร่ Zoisite นั้นเป็นที่รู้จักกันตั้งแต่ปี 1805 แต่ในยุคนั้นยังไม่จัดว่าเป็นอัญมณี

เมื่อมองจากต่างมุม แทนซาไนซ์จะสะท้อนแสงให้สีที่แตกต่างกัน violet-red, yellow-brown, blue-violet

สีของแทนซาไนซ์จะแตกต่างไปจากแซปไฟร์สีน้ำเงิน แซปไฟร์สีม่วง แตกต่างกับ turquoise สีน้ำเงิน แตกต่างกับ turquoiseสีเหลือง-เขียว แตกต่างกับ turquoise สีน้ำตาล บางครั้งจะพบแทนซาไนซ์ที่ไม่มีสีหรือสีชมพูเชดต่างๆ ลักษณะเด่นที่สำคัญของอัญมณีชนิดนี้คือมีประกายสีน้ำเงินเข้ม (strong pleochroism)

เมื่อส่องดูผ่านแกนผลึกที่ต่างกัน แร่แทนซาไนซ์ก็จะให้สีที่แตกต่างกันเช่น สีน้ำเงิน สีม่วง (อมแดง) สีเขียว (หรือน้ำตาล) เป็นต้น

ผลึกบางชนิดของแทนซาไนซ์ให้ประกายสะท้อนออกมาแบบ alexandrite effect ในเวลากลางวันจะให้สีน้ำเงินแต่เวลากลางคืนจะ

ปัจจุบันมีการนำแทนซาไนซ์ไปใช้ในอุตสาหกรรมจิวเวลรี่อย่างกว้างขวางเนื่องจากแทนซาไนซ์ที่ผ่านการเจียรไนอย่างมีคุณภาพจะให้ประกายสวยงามของสีสรรค์เทียบเคียงได้กับแซปไฟร์ การแยกแยะความแตกต่างระหว่างแทนซาไนซ์กับแซปไฟร์ทำได้โดยง่าย ดูตารางที่แนบมา มลทินที่เป็นธาตุ graphite, ilmenite รวมทั้งที่เป็นแกสเหลว(gas-liquid) เป็นลักษณะเฉพาะตัวของแร่แทนซาไนซ์

นักเจียรไนอัญมณีจะพยายามเพิ่มประกายสีของแทนซาไนซ์ ดังนั้นการเจียรไนจึงต้องทำโดยการที่เจียรไนให้แกนผลึกที่แสดงสีของแทนซาไนซ์อยู่ในแนว “ตั้งฉาก” กับหน้า “table” ของอัญมณี

Image

จนกระทั่งมาถึงทศวรรษที่90 ของศัตวรรษที่แล้ว  การทำเหมืองแทนซาไนซ์ได้รับการริเริ่มของหมืองขนาดย่อม ในปี 1990 รัฐบาลแทนซาเนียตัดสินใจให้มีการทำเหมืองแทนซาไนซ์อย่างจริงจัง แหล่งแร่ในบริเวณ Merelani ได้แบ่งเป็นสี่เขตสัมปทานได้แก่ Block A, Block B, Block C และ Block D และมอบสัมปทานให้กับแต่ละบริษัท

กระทรวง Ministry of Energy, Water and Mineral ของ แทนซาเนียเป็นผู้ออกใบอนุญาติสัมปทานบัตร Block A, Block B เป็นเขตสัมปทานที่เข้าถึงได้ยาก โดยเฉพาะ Block B ที่อยู่ใต้ชั้นดินที่หนาและหินที่ทับถม ได้ออกสัมปทานบัตรให้ชนท้องถิ่นทำการพัฒนา ส่วน Block C ซึ่งมีลักษณะภูมิศาสตร์เหมาะสมที่จะพัฒนาด้วยเครื่องจักรสมัยใหม่ได้ออกสัมปทานบัตรให้ชางต่างชาติเป็นผู้พัฒนา และปัจจุบัเป็นแหล่งผลิตแทนซาไนต์ที่สำคัญ

Image

แหล่งแร่ Block C ได้รับการพัฒนาในปี 1995 โดยบริษัทเหมืองแร่จากอังกฤษ ชื่อ Graphtan Ltd. ระหว่างปี 1999 ถึงปี 2004 เหมืองแร่ Block C ได้รับการพัฒนาต่อโดยบริษัทเหมืองแร่จาอัฟริกาใต้ชื่อ Africa Gem Resource Ltd. นับจากปี 2004 เป็นต้นมาแหล่งแร่ Block C ได้รับการพัฒนาโดยบรัทเหมืองแร่ท้องถิ่นของแทนซาเนียที่ชื่อว่า Tanzanite One Group

GEMOLOGICAL GRADING OF CUT TANZANITE

นักอัญมณีศ่สตร์ทำการจัดเกรดของแทนซาไนซ์โดยการใช้หลัการเดียวกันกับการจัดเกรดเพชรคือ หลักการ 4C’s principle เช่นคุณค่าของแทนซาไนซ์จะวัดจาก ความสวยงามของสี (color) ความสะอาด (clarity) น้ำหนัก (carat) และการเจียรไน (cut)

Color Grading การจัดเกรดความสวยงามของสีเป็นคุณลักษณะที่สำคัญที่สุดของแร่แทนซาไนซ์ ซึ่งจะแยกแยะความลึกของสีสรรค์ และความเข้มหรือความอิ่มตัวของสี

มีการจัดเกรดสีออกเป็น 6 เกรด ได้แก่ exceptional, vivid, intense, moderate, light and pale

Image

สีของแทนซาไนซ์ยังแบ่งออกเป็น สองเฉดสีคือเฉดสีม่วงออกน้ำเงิน(ที่มีสีน้ำเงินเป็นสีพื้น)และเฉดน้ำเงินออกสีม่วง(ที่มีสีม่วงเป็นสีพื้น)

Clarity Grading การจัดเกรดความสะอาดของแทนซาไนซ์ที่มีผลจากการมีส่วนผสมของธาตุที่เป็นมลทิน ขนาดของมลทิน และปริมาณของมลทิน การจัดเกรดความสะอาดของมลทินแบ่งออกเป็นสี่เกรด

  • EC       (Eye Clean i.e. flawless),
  • SI         (Slightly Included with insignificant inclusions visible with some effort)
  • MI       (Moderately Included with minor inclusions)
  • HI        (Heavy Included with significant inclusions)

TANZANITE QUALITY SCALE

Cut Grading การจัดเกรดของแทนซาไนซ์ที่ผ่านการเจียรไนแล้วจะพิจารณาองค์ประกอบต่างๆอาทิเช่น มุม (angles) และสัดส่วน (proportions) รวมไปถึงขนาดองศาของมุมที่แสงสะท้อนออกมาจากอัญมณี (luster) แทนซาไนซ์ที่ได้รับการจัดเกรดไว้สุงสุด ‘excellent’ จะถูกจัดให้เป็นตัวอย่างของแทนซาไนซ์ที่การเจียรไนให้ประกายของแสงได้สูงสุด

Heat Treatment แทนซาไนซ์ในธรรมชาติที่ขุดพบส่วนใหญ่ (95%) จะมีสีที่ไม่เป็นที่ต้องตาต้องใจนักคือเฉดสีเหลืองออกน้ำตาล (yellow-brown hue) การเผาแทนซาไนซ์ด้วยเทคนิกพิเศษที่อุณภูมิ 400-600 องศาเซ็นติเกรดเพื่อลดเฉดสีที่ไม่ต้องการออกไปและทำให้เกิดสีที่ต้องการคือสีน้ำเงินและสีม่วงมาแทน สีดังกล่าวเกิดขึ้นระหว่างที่การเผาที่อุณหภูมิประมาณ 375 องศาเป็นเวลาประมาณ 1 ชั่วโมง หรือในช่วงสอง-สามนาฑีขณะเผาที่อุณหภูมิ 600 องศา ในบางครั้ง การเผาเพื่อให้ได้สีที่ต้องการอาจต้องใช้สารเคมีบางชนิดมาเคลือบที่ผิวเม็ดแทนซาไนซ์ก่อนเข้าเตาเผา

Image

เป็นการยากที่จะแยกแยะวิธีการเผาแทนซาไนซ์กับอัญมณีทั่วไป ดังนั้นจึงต้องใช้ผู้ที่เชี่ยวชาญในการเผาอัญมณีในห้องทดลองและเครื่องมือห้องปฎิบัติการที่ทันสมัย

TANZANITE PRICES

ในช่วงทศวรรษที่ 90 ของศัตวรรษที่ผ่านมา แทนซาไนซ์กลายเป็นอัญมณีแฟชั่นที่ได้รับการยอมรับในสังคม และความนิยมดังกล่าวได้กระจายไปทั่วโลก รวมทั้งในสหภาพโซเวียตและประเทศไทย แทนซาไนซ์ไม่สามารถที่จะเทียบเคียงหรือสู้ราคาของแซปไฟร์ได้ แต่ในยุคสหัสวรรษนี้ราคาแทนซาไนซ์มักจะสูงเกินกะรัตละ 1,000 เหรียญสหรัฐฯ ราคานี้อยู่ยงคงกระพันจนกระทั่งถึงยุคเศรษฐกิจตกต่ำในปี 2008 ในปัจจุบันราคาของแร่ zoisite ที่นำมาผลิตเป็นแทนซาไนซ์จะอยู่ที่ 200 เหรียญสหรัฐฯต่อน้ำหนัก 1 กรัม (หรือแทนซาไนซ์ดิบน้ำหนัก 1 กรัม) ในขณะที่แทนซาไนซ์ที่ผ่านการเจียรไนแล้วในประเทศแทนซาเนียจะขายกันที่ $400/1ct

สิ่งที่น่าสนใจคือ 95% ของแทนซาไนซ์ธรรมชาติจะเป็นเฉดสีเหลืองปนน้ำตาล มีเพียง 5% เท่านั้นที่จะพบในธรรมชาติมีสีน้ำเงิน อย่างไรก็ตามบริษัทผู้ผลิตแทนซาไนซ์ต่างก็ขายแทนซาไนซ์ในราคาเดียวกันไม่ว่าจะเป็นเฉดสีเหลืองปนน้ำตาลหรือเฉดสีน้ำเงินปนม่วง การเผาแทนซาไนซ์ผู้ซื้อจะเป็นผ้ไปดำเนินการเอง ผู้ที่เป็นตัวแทนจำหน่ายแทนซาไนซ์ส่วนใหญ่จ้เป็นบริษัทของชาวอินเดีย

ADVANCED STUDY OF TANZANITE

เนื่องจากการมีสีที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง แทนซาไนซ์จึงไม่ใช่แต่จะดึงดูดความต้องการของผู้ค้าเครื่องประดับแต่ก็เป็นที่เสน่ห์ต้องใจดึงดูดความสนใจของนักวิทยาศาสตร์ด้วย การวิจัยเรื่องสีของแทนซาไนซ์ได้รับความสนใจทำการวิจัยทางวิทยาศาสตร์จากสถาบัน Gemological Center of Moscow State University การใช้เครื่องมือคอมพิวเตอร์สนับสนุนกรรมวิธีการทำวิจัย stroboscopic method เพื่อศึกษาแทนซาไนซืเป็นการเฉพาะ การศึกษาครั้งนี้มีเป้าหมายเพื่อศึกษาความเปลี่ยนแปลงของสีแทนซาไนซ์ที่ผ่านกรรมวิธีการเผา การเปรียบเทียบเฉดสีที่เกิดขึ้นก่อนการเผาและหลังการเผา เลือกหาสัดส่วนการเจียรไนที่ให้ผลดีสูงสุดเพื่อให้แทนซาไนซ์ที่ผ่านการเจียรไนเปล่งประกายความสวยงามของแทนซาไนซ์ออกมาได้สูงที่สุด

ImageImage แหวน tanzanite ของ wwww.pilalajewel.net

ใส่ความเห็น

Please log in using one of these methods to post your comment:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Twitter picture

You are commenting using your Twitter account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.

%d bloggers like this: