สวัสดีประจำเช้าวันศุกร์ฯนะครับ

พอนึกถึงวันศุกร์ สีประจำวันศุกร์ก็เป็นสีฟ้าใช่มั้ยครับ

วันนี้ทางร้านก็จะมีข้อมูลดีๆเกี่ยวกับพลอยสีฟ้าที่ทุกคนรู้จักกันนะครับ

10491157_676710812383148_6456361997084144439_n


 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Blue Tópaz

โทแพซสีฟ้าหนึ่งในอัญมณีที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายเช่นเดียวกับอเมทิส เนื่องด้วยโทแพซเป็นอัญมณีที่มีเนื้อใสสะอาดและมีเป็นจำนวนมาก

โทแพซเป็นอัญมณีประจำเดือนพฤศจิกายน เป็นสัญลักษณ์ของชีวิตและความบริสุทธิ์ เชื่อกันว่าสามารถกำจัดวิญญาณชั่วร้าย ปกป้องผู้สวมใส่ให้พ้นภัยคำสาปแช่ง และเล่นงานพ่อมดหมอผีได้ สามารถรักษาจิตใจที่แห้งเหี่ยว อาการนอนไม่หลับได้ ทำให้เกิดปัญญา เกิดกำลังใจในการบรรลุความประสงค์ ช่วยสร้างแรงบันดาลใจในเรื่องความรัก โทแพซจะเปลี่ยนสีเมื่ออยู่ใกล้ยาพิษและทำให้ผู้ใส่สามารถหายตัวได้ในยามวิกฤต

คำว่า “โทแพซ” ในภาษาสันสกฤต แปลว่า “ไฟ”10446476_676710679049828_274135679601967103_n

โทแพซ สีที่ได้รับความนิยมมากคือสีฟ้า และสีเขียว ขณะที่โทแพซ สีชมพูถือว่ามีมูลค่ามากที่สุดเพราะความหายาก โทแพซเป็นอัญมณีที่มีขนาดใหญ่และมีเนื้อใสสะอาด สามารถพบเห็นได้จำนวนมาก ทำให้ราคาไม่สูงและมีความแข็งแรงทนทานมาก มีค่าความแข็งระดับ 8 รองจากพลอยเนื้อแข็งตระกูลแซฟไฟร์ ที่มีค่าความแข็งระดับ 9

ปัจจุบันมีการนำโทแพซมาอาบรังสีเพื่อให้ได้โทแพซที่มีสีฟ้า โดยสามารถกำหนดได้ว่าจะให้ได้สีฟ้าที่มีความเข้มในระดับต่างๆ ภายหลังจากอาบรังสีก็จะมีการนำไปอบด้วยความร้อน เพื่อช่วยให้สีที่ได้จากการอาบรังสีมีความคงทน ถาวร

การพิจารณาเลือกซื้อ เนื่องจากโทแพซเป็นอัญมณีที่มีความสวยงาม เนื้อใสสะอาดและผลึกในธรรมชาติมีขนาดใหญ่ เป็นอัญมณีที่หาได้ง่าย มีจำนวนมาก ทำให้การเลือกซื้อไม่ยุ่งยากมากนัก โดยจะต้องเลือกซื้อเม็ดที่มีเนื้อใสสะอาด มองไม่เห็นตำหนิภายในด้วยตาเปล่า พิจารณาคัดเลือกเม็ดที่มีความเข้มของสีได้ตามความต้องการ สำหรับโทแพซสีฟ้าจะมีระดับความเข้มของสีหลายระดับ ซึ่งเกิดจากการอาบรังสีเพื่อให้ได้สีฟ้าที่สดสวยตามต้องการ สีมีความสม่ำเสมอทั่วทั้งเม็ด และมีความคงทนไม่เปลี่ยนแปลง ส่วนการพิจารณาในเรื่องการเจียระไน ก็ให้เลือกเม็ดที่มีการเจียระไนรูปร่างที่ได้สัดส่วนสมดุล เหลี่ยมมุมคมชัด ประณีต หลีกเลี่ยงเม็ดที่มีรอยขีดข่วนหรือมีรอยสึกตามเหลี่ยมมุม

การดูแลรักษา ควรทำความสะอาดด้วยน้ำอุ่นและแปรงขนนุ่มเบาๆ หลีกเลี่ยงการสัมผัสน้ำเค็ม สารเคมี เก็บรักษาไว้ในภาชนะที่บุด้วยผ้านุ่ม
10435393_676710469049849_6622664711510054383_n

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

อ้างอิงจาก อภิสมัย พยัคฆาภรณ์ และ จิรยุทธ วจนะถาวรชัย หนังสือ นานาอัญมณี

ใส่ความเห็น

Please log in using one of these methods to post your comment:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.

%d bloggers like this: